การรับมือกับปัญหา ขยะอิเล็กทรอนิกส์
การรับมือกับปัญหา ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทุกวันนี้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกทิ้งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์มากมาย ซึ่งโดยมากแล้วมันจะถูกนำไปแยกชิ้นส่วนหรือแปรสภาพเพื่อนำมาใช้งานต่อ จากนั้นมันจะกลายสภาพและถูกทิ้งเป็นขยะ ซึ่งจำเป็นต้องมีกระบวนการกำจัดที่ถูกต้อง เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีอันตรายนั่นก็คือ สารเคมีและส่วนประกอบที่รวมอยู่ในตัวมันเอง โดยเฉพาะโลหะหนักที่เป็นอันตรายซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้คือ ตะกั่ว เป็นส่วนประกอบหลักที่พบได้จากแผงวงจรต่างๆ จอภาพรังสีแคโทดและแบตเตอรี่แบบเก่า มีความเป็นพิษสูงต่อคนและสัตว์ โดยมันจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลาย การไหลเวียนของเลือด และการทำงานของไตมีความบกพร่อง รวมทั้งทำให้พัฒนาการทางสมองของเด็กหยุดชะงัก นอกจากนี้ยังสามารถเกิดการสะสมในสิ่งแวดล้อมและสามารถก่อให้เกิดผลเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรังกับพืชและสัตว์ได้อีกด้วย แคดเมียม สารชนิดนี้ โดยส่วนใหญ่จะพบได้จากแผ่นวงจร ตัวต้านทานและวัสดุกึ่งตัวนำต่างๆ โดยจะเกิดการสะสมได้ในร่างกาย โดยเฉพาะที่ไต มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท ส่งผลกระทบกับพัฒนาการและพันธุกรรม ปรอท โดยทั่วไปมักพบได้จากตัวตัดความร้อน สวิตช์ และโทรทัศน์จอแบน โดยตลอดจะส่งผลทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานบกพร่อง โดยเฉพาะสมองและไต และหากถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ สารอันตรายชนิดนี้จะเกิดการเปลี่ยนรูปและตกตะกอน เพิ่งจะสะสมในสิ่งมีชีวิตได้ง่าย โครเมียมเฮกซาวาเลนท์ เป็นสารที่ใช้ในการป้องกันการกัดกร่อนขอแผ่นโลหะเคลือบสังกะสี สามารถซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้ และเป็นสารก่อมะเร็งสำหรับมนุษย์ เบริลเลียม เป็นสารมีใช้ในแผงวงจรหลัก เป็นสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด ซึ่งผู้ที่ได้รับสารนี้อย่างต่อเนื่องจากการสูดดมจะกลายเป็นโรค Berylliosis และอาจสัมผัสโดยตรงก็จะทำให้เกิดบาดแผลที่ผิวหนังอย่างรุนแรงได้ อาร์เซนิก หรือสารหนู เป็นสารที่ใช้ในแผงวงจร มีผลทำลายระบบประสาท ผิวหนังและระบบการย่อยอาหาร หากได้รับสารนี้ในปริมาณที่มากอาจทำให้ถึงตายได้ แบเรียม ใช้ในแผ่นหน้าของหลอดรังสีแคโทด เป็นสารที่มีผลต่อระบบสมอง …