ข้อมูลในฮาร์ดดิสไม่ได้เสียหายง่าย ๆ ด้วยแม่เหล็ก

ข้อมูลในฮาร์ดดิสไม่ได้เสียหายง่าย ๆ ด้วยแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะว่าสามารถจัดเก็บข้อมูลได้เยอะ และด้วยราคาในปัจจุบันก็ถูกลงกว่าเมื่อก่อนนี้มาก แต่ในปัจจุบันนี้ก็ได้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่สามารถทำงานได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า มีที่ขนาดเล็กกว่า แต่ยังมีราคาที่แพงกว่าฮาร์ดดิสก์อยู่พอสมควรนั่นก็คือ SSD (Solid State Drive)

ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ SSD (Solid State Drive) น่าจะเข้ามาแทนที่ฮาร์ดดิสก์ได้ และมีราคาที่ถูกลงได้อีก ส่วนในเรื่องของปัญหาที่พบบ่อยที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียนั่นก็คือ การทำฮาร์ดดิสก์ตกจากที่สูง และเกิดการกระแทกอย่างรุนแรง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียได้

เมื่อก่อนนั้น แม่เหล็กจัดได้ว่าเป็นสังหารข้อมูลของแผ่นฟลอบปี้ดิสก์ อย่างแท้จริง และก็มีคำแนะนำมากมายเกิดขึ้นในลักษณะที่ว่า อย่านำแม่เหล็กมาวางใกล้ๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย เพราะต่างเชื่อว่าสนามแม่เหล็กที่ถูกปล่อยออกมาทำให้ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้รับความเสียหาย

แต่ทุกคนเชื่อหรือไม่ว่า แม่เหล็กนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่อันตรายกับฮาร์ดดิสเลยแม้แต่น้อย แม้ว่าจะเป็นแม่เหล็กนีโอไดเมียมมีกำลังสูงๆ ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป ยิ่งไปกว่านั้นภายในตัวฮาร์ดดิสก์ก็มีส่วนประกอบที่เป็นแม่เหล็ก และมีการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมาด้วยซ้ำ

ฮาร์ดดิสก์ในสมัยใหม่นี้ความจุระดับเทราไบต์ TB อย่างในปัจจุบันจะประกอบไปด้วยแผ่นแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลจำนวนหนึ่ง  ซึ่งแต่ละแผ่นจะถูกเคลือบไว้ด้วยเหล็กออกไซด์หรือโคบอล

โดยข้อมูลที่บันทึกอยู่ในนั้นจะใช้ขั้วแม่เหล็กเป็นตัวบอกสถานะว่าเป็นบิตข้อมูล 0 หรือ 1 จากการวางตัวในทิศทางที่แตกต่างกัน ซึ่งในการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านเขียนของฮาร์ดดิสจะเคลื่อนที่ไปบนจานแม่เหล็กโดยมีระยะห่างระหว่างแผ่นจานแม่เหล็กกับหัวอ่านเขียนประมาณ 10 นาโนเมตร

โดยในระหว่างที่กำลังอ่านข้อมูลนั้น ขั้วแม่เหล็กที่เป็นตัวบอกสถานะข้อมูลตำแหน่งต่าง ๆ จะสร้างความแตกต่างจนทำให้หัวอ่านรู้ว่าเป็นข้อมูลอะไรจากการเหนี่ยวนำ ส่วนในการเขียนข้อมูลนั้น หัวเขียนจะสร้างสนามแม่เหล็กที่มีกำลังสูงขึ้นมา เพื่อทำให้ตำแหน่งที่อยู่ภายในนั้นเกิดเป็นบิตข้อมูล

หลายคนอาจมีคำถามที่น่าสงสัยก็คือ เมื่อสนามแม่เหล็กสามารถทำให้บิตข้อมูลเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แล้วเหตุใดแม่เหล็กทั่วไปจึงไม่มีผลอะไรกับสิ่งเหล่านี้ คำตอบนั้นก็คือ การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์นั้นต้องใช้สนามแม่เหล็กที่มีกำลังถึง 0.5 เทสลา ภายในระยะเพียงแค่ 1 ในแสนมิลลิเมตร

ซึ่งนั่นก็หมายความว่าหากมีระยะทางที่มากกว่านี้ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนจานแผ่นแม่เหล็กก็จะต้องใช้สนามแม่เหล็กที่มีกำลังสูงกว่านี้มาก

ข้อมูลในฮาร์ดดิสไม่ได้เสียหายง่าย ๆ ด้วยแม่เหล็ก

ในกรณีของแม่เหล็กนีโอไดเมียมที่สามารถที่สามารถพบเห็นกันทั่วไปนั้น ก็มีกำลังของสนามแม่เหล็กไม่แรงพอที่จะทำให้ข้อมูลเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้ เพราะการที่มันจะสร้างสนามแม่เหล็กขนาด 0.5 เทสลาขึ้นมาได้ แม่เหล็กดังกล่าวนี้จะต้องมีน้ำหนักอย่างน้อยถึง 200 กิโลกรัม นอกจากนั้นภายในระยะประมาณ 1 เซนติเมตรสนามแม่เหล็กในสภาพทั่วไปของแม่เหล็กชนิดนี้จะมีกำลังเพียงแค่ 0.3 เทสลาเท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตามที่เราต้องระลึกอยู่เสมอนั่นก็คือ ถ้าคุณนำแม่เหล็กมาไว้ใกล้ๆ กับฮาร์ดดิสก์ในขณะที่มันกำลังทำงานอยู่ สนามแม่เหล็กมีแม่เหล็กปล่อยออกมาเพราะอาจจะทำให้หัวอ่านและเขียนของฮาร์ดดิสก์เกิดการขยับเขยื้อนหรือกดทับลงไปบนแผ่นจานแม่เหล็กที่กำลังหมุนด้วยความเร็วสูงมันทำให้การเขียนข้อมูลเกิดการผิดพลาดได้ หรือทำให้ส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดของฮาร์ดดิสก์ได้รับความเสียหายจนสูญเสียข้อมูลได้เหมือนกัน

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า ข้อมูลในฮาร์ดดิสไม่ได้เสียหายง่าย ๆ จากแม่เหล็ก แต่เราก็ไม่ควรนำแม่เหล็กมาอยู่ใกล้ ๆ กับฮาร์ดดิสก์ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์กำลังทำงานอยู่

HITECHNOO.COM ข่าวเทคโนโลยี ไอที มีอะไรใหม่ เราไวที่สุด พวกเราคือผู้นำในวงการไอที และเทคโนโลยี อุปกรณ์ออกใหม่ ข่าวเรื่องรถยนต์ ข่าวอัพเดตเทคโนโลยี

Leave a Comment

Your email address will not be published.

9 + 80 =

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save