ข้อแนะนำในการขับรถฝ่าน้ำท่วมอย่างไรให้ปลอดภัย

ข้อแนะนำในการขับรถฝ่าน้ำท่วม อย่างไรให้ปลอดภัย เมื่อถึงหน้าฤดูฝนในช่วงที่มีพายุหรือร่องมรสุมผัดผ่านประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งประเทศไทยของเราก็เกิดน้ำท่วมทุกปีเป็นเรื่องปกติ ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายในวงกว้าง ซึ่งกว่าจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปได้ คงต้องใช้เวลากันอีก นานนับเดือนกว่านํ้าจะลดลงจนเข้าสู่ภาวะปรกติ

อีกทั้งตลอดระยะเวลาแห่งภาวะวิกฤตภัยนํ้าท่วมที่เกิดขึ้นนี้ ไม่เพียงแต่ทิ้งร่องรอยความสูญเสีย และสร้างความเสียหายให้แก่ข้าวของเครื่องใช้และทรัพย์สินมีค่านานาชนิด อาทิ อาคารบ้านเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอำนวยความสะดวก เท่านั้น แต่ภาวะภัยนํ้าท่วมครั้งนี้ ยังก่อให้เกิดความเสียหาย อย่างร้ายแรงต่อยานพาหนะหลายชนิด ที่ผู้เป็นเจ้าของไม่สามารถ เคลื่อนย้ายหนีน้ำได้ทัน

ถึงให้ฝนตกหนักขนาดไหน น้ำท่วมทางในบางครั้งเราก็จำเป็นต้องขับรถผ่านเส้นทางนั้น หลายคนอาจจะยังไม่รู้วิธีการขับรถฝ่าน้ำท่วมอย่างไรให้ปลอดภัย และในวันนี้เรามีวิธีการขับลุยน้ำที่ท่วมขัง ว่าทำอย่างไร จึงจะทำให้รถของเราปลอดภัย เราได้ทำการสรุป มาฝากกันดังนี้

8 ข้อแนะนำในการขับรถฝ่าน้ำท่วม อย่างไรให้ปลอดภัย

  1. การขับรถลุยน้ำท่วมควรใช้ความเร็วต่ำ ๆ ไม่เกิน 30 กม./ชม. เนื่องจากหากมีการเร่งรอบเครื่องที่สูงเกินไป “พัดลมฟรีปั๊ม” หน้าเครื่องจะหมุนด้วยรอบเครื่องที่สูง จะทำให้ใบพัดลมแตกหัก แล้วเศษของใบพัดอาจไปทำให้ “หลอดระบายความร้อนของหม้อน้ำ” ได้รับความเสียหาย ส่งผลให้น้ำหล่อเย็นภายในเครื่องยนต์ไหลออกจนหมด ทำให้เครื่องเกิด “โอเวอร์ฮีต” แล้วอาจทำให้ส่วนภายในเครื่องยนต์ได้รับความเสียหายตามไปด้วย
  2. หากขับรถลุยน้ำท่วมควรปิดระบบปรับอากาศและเปิดกระจกหน้าต่าง เพราะถ้าหากเปิดระบบปรับอากาศในขณะขับรถลุยน้ำท่วมอาจส่งผลให้คอมเพรสเซอร์แอร์ได้รับความเสียหายได้ และพยายามใช้ระบบไฟในรถยนต์ให้น้อยที่สุดเพื่อป้องกันการช็อต
  3. การต่อปล่องดูดอากาศเข้าสู่ชุดหม้อกรองโดยให้ปล่องดักอากาศอยู่ด้านนอกตัวรถยนต์ มีตำแหน่งที่สูงใกล้เคียงกับหลังคารถ และมีการซีลรอยต่อให้แน่นปราศจากรอยรั่ว เพียงเท่านี้เครื่องยนต์ก็จะไม่ได้รับความเสียหายหรือดับกลางอากาศได้
  4. หลังจากผ่านการขับรถลุยน้ำท่วมแล้ว ควรขับรถแบบแตะเบรกเลีย ๆ ไปด้วย เพื่อให้เกิดความร้อนที่ผ้าเบรกกับจานเบรก เป็นการไล่ความชื้นออกจากตัวผ้าเบรกและจานเบรกให้มีอุณหภูมิเหมาะสมกับการใช้งาน
  5. หลังหมดน้ำท่วมแล้ว ควรนำรถไปตรวจเช็ค ณ ศูนย์บริการ ให้ทำการถอดปลั๊กไฟของเครื่องยนต์ทุกจุด เพื่อฉีดสเปรย์ไล่ความชื้นที่ทำให้เกิดคราบเกลือ ซึ่งส่งผลให้ระบบไฟไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เกียร์ ชุดทรานเฟอร์ เฟื่องท้าย และน้ำมันเบรกใหม่ทั้งหมด
  6. ตรวจเช็คซีลยางกันน้ำ กันฝุ่นต่าง ๆ เช่น ซีลหน้าเครื่อง-ท้ายเครื่อง ซีลหน้าเกียร์-ท้ายเกียร์ ซีลเฟืองท้าย ซีลดุมทั้งหมด หากมีการฉีกขาดตรงจุดใด ควรถอดออกมาเปลี่ยนและทำความสะอาดบริเวณจุดหมุนต่าง ๆ เช่น ลูกปืนล้อ ลูกปืนเพลาขับล้อหน้า เพราะหากมีน้ำมันหรือเศษฝุ่นละอองเข้าไป อาจเกิดความเสียหายกับระบบต่าง ๆ ได้
  7. หากมีน้ำเข้าสู่ห้องโดยสารให้นำรถเข้าศูนย์บริการ หรือคาร์แคร์ ให้จัดการถอดเบาะที่นั่ง พรมพื้นรถ ออกมาทำความสะอาดให้ปราศจากความชื้นและเชื้อรา
  8. ควรเตรียมพวกสเปรย์อเนกประสงค์ สเปรย์ฉีดทำความสะอาดพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สเปรย์จาระบีเหลว ผ้าสะอาด ประแจ และไขควง ติดรถไว้เพื่อไว้ใช้งานหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

ข่าวเรื่องรถยนต์ ข่าวอัพเดตเทคโนโลยี ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีการขับรถฝ่าน้ำท่วมให้ปลอดภัย เพื่อช่วยให้รถคู่ใจของท่านยังสามารถใช้งานได้ ไม่เกิดความเสียหายในการเกิดน้ำท่วมครั้งนี้ หวังว่าทุกคนจะปลอดภัยและผ่านพ้นวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปได้

เช็คดู!! คุณกำลังเป็น “โรคต้อกระจก” หรือไม่

Leave a Comment

Your email address will not be published.

77 - 8 =

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save