ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์

การรับมือกับปัญหา ขยะอิเล็กทรอนิกส์

ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์

การรับมือกับปัญหา ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทุกวันนี้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกทิ้งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์มากมาย ซึ่งโดยมากแล้วมันจะถูกนำไปแยกชิ้นส่วนหรือแปรสภาพเพื่อนำมาใช้งานต่อ จากนั้นมันจะกลายสภาพและถูกทิ้งเป็นขยะ ซึ่งจำเป็นต้องมีกระบวนการกำจัดที่ถูกต้อง เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีอันตรายนั่นก็คือ สารเคมีและส่วนประกอบที่รวมอยู่ในตัวมันเอง โดยเฉพาะโลหะหนักที่เป็นอันตรายซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้คือ

  1. ตะกั่ว เป็นส่วนประกอบหลักที่พบได้จากแผงวงจรต่างๆ จอภาพรังสีแคโทดและแบตเตอรี่แบบเก่า มีความเป็นพิษสูงต่อคนและสัตว์ โดยมันจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลาย การไหลเวียนของเลือด และการทำงานของไตมีความบกพร่อง รวมทั้งทำให้พัฒนาการทางสมองของเด็กหยุดชะงัก นอกจากนี้ยังสามารถเกิดการสะสมในสิ่งแวดล้อมและสามารถก่อให้เกิดผลเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรังกับพืชและสัตว์ได้อีกด้วย
  2. แคดเมียม สารชนิดนี้ โดยส่วนใหญ่จะพบได้จากแผ่นวงจร ตัวต้านทานและวัสดุกึ่งตัวนำต่างๆ โดยจะเกิดการสะสมได้ในร่างกาย โดยเฉพาะที่ไต มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท ส่งผลกระทบกับพัฒนาการและพันธุกรรม
  3. ปรอท โดยทั่วไปมักพบได้จากตัวตัดความร้อน สวิตช์ และโทรทัศน์จอแบน โดยตลอดจะส่งผลทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานบกพร่อง โดยเฉพาะสมองและไต และหากถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ สารอันตรายชนิดนี้จะเกิดการเปลี่ยนรูปและตกตะกอน เพิ่งจะสะสมในสิ่งมีชีวิตได้ง่าย
  4. โครเมียมเฮกซาวาเลนท์ เป็นสารที่ใช้ในการป้องกันการกัดกร่อนขอแผ่นโลหะเคลือบสังกะสี สามารถซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้ และเป็นสารก่อมะเร็งสำหรับมนุษย์
  5. เบริลเลียม เป็นสารมีใช้ในแผงวงจรหลัก เป็นสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด ซึ่งผู้ที่ได้รับสารนี้อย่างต่อเนื่องจากการสูดดมจะกลายเป็นโรค Berylliosis และอาจสัมผัสโดยตรงก็จะทำให้เกิดบาดแผลที่ผิวหนังอย่างรุนแรงได้
  6. อาร์เซนิก หรือสารหนู เป็นสารที่ใช้ในแผงวงจร มีผลทำลายระบบประสาท ผิวหนังและระบบการย่อยอาหาร หากได้รับสารนี้ในปริมาณที่มากอาจทำให้ถึงตายได้
  7. แบเรียม ใช้ในแผ่นหน้าของหลอดรังสีแคโทด เป็นสารที่มีผลต่อระบบสมอง ทำให้สมองบวม กล้ามเนื้ออ่อนล้า ทำลายหัวใจ ม้ามและตับ
  8. สารหน่วงการติดไฟกลุ่มโบรมีน เป็นสารที่ใช้ในกล่องพลาสติกของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรและตัวเชื่อมต่อต่างๆ เป็นสารที่มีพิษและสามารถสะสมในสิ่งมีชีวิตได้ นอกจากนั้นหากมีทองแดงรวมอยู่ด้วย ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไดออกซินและฟิวเรนระหว่างการเผาด้วย โดยตัวทนไฟมีอันตรายมากจะเป็นโบรมีนที่อยู่ในรูปของโพลีโบรมิเต็ดไบฟีนีล ซึ่งก่อให้เกิดไดออกซิน สารก่อให้เกิดมะเร็งทำลายการทำงานของตับ มีผลกระทบต่อระบบประสาทและภูมิคุ้มกัน ทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์เกิดการผิดพลาด สามารถเกิดการสะสมในน้ำนมและกระแสเลือดของมนุษย์ได้ รวมทั้งเป็นสารที่ถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหารได้ด้วย
ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์

จากปริมาณ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการควบคุมและมีมาตรการการจัดการต่างๆ เกิดขึ้นมากมายรวมไปถึงมีข้อตกลงระหว่างประเทศเกิดขึ้น

อย่างเช่น อนุสัญญาบาเซล ที่ช่วยป้องกันไม่ให้มีการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศที่พัฒนาแล้วไปทิ้งในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในสมาชิกภาคีของอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย

แต่ไม่ว่าจะมีมาตรการคุ้มครองอย่างไรก็ตาม การรณรงค์เพื่อรับมือและจัดการจับ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันก็มีหลักการทั่วไปอยู่ 2 อย่างคือ การใช้ซ้ำ (Reuse) ซึ่งเป็นการนำอุปกรณ์ที่ใช้แล้วและที่ไม่ต้องการให้กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นการซ่อมแซมและส่งต่อให้ผู้ที่ยังขาดแคลนอยู่ กับการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ซึ่งเป็นการแยกหรือนำส่วนประกอบบางอย่างที่ยังมีประโยชน์จากอุปกรณ์ที่ใช้งานไม่ได้แล้วออกมาใช้งานก่อนที่จะนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

HITECHNOO.COM ข่าวเทคโนโลยี ไอที มีอะไรใหม่ เราไวที่สุด พวกเราคือผู้นำในวงการไอที และเทคโนโลยี อุปกรณ์ออกใหม่ ข่าวเรื่องรถยนต์ ข่าวอัพเดตเทคโนโลยี ข่าวสาร ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

Leave a Comment

Your email address will not be published.

5 + 7 =

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save